บันทึกอนุทิน
วันที่ 19 กันยายน 2557
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13: 10 - 16 : 40 น.
ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมที่ 1
อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 ใบ จากนั้นพับครึ่ง แบ่งให้เป็น 2 ใบ แล้วแบ่งกับเพื่อนคนละใบ เมื่อได้มาแล้ว 1 ใบ ให้พับครึ่ง
อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 ใบ จากนั้นพับครึ่ง แบ่งให้เป็น 2 ใบ แล้วแบ่งกับเพื่อนคนละใบ เมื่อได้มาแล้ว 1 ใบ ให้พับครึ่ง
หลังจากนั้นให้วาดรูปลงกระดาษทั้ง 2 ข้าง แล้วระบายสีให้สวยงาม
หลังจากนั้นให้นำกาวมาติดกระดาษ และไม้เสียบลูกชิ้น
เมื่อเสร็จแล้วให้นำมาปั่น จะปรากฏเห็นเห็นภาพที่เป็น 3 มิติ
จากการที่ได้ไปศึกษา จากกิจกรรมนี้มาทำให้ทราบว่าการที่เราสามารถมองเห็นภาพแล้วเกิดเป็นภาพซ้อนหรือภาพสามมิติ 3 ได้นั้นเกิดจากเลนส์สายตาปรับความเร็วจากสิ่งที่เราปั่นไม่ทันทำให้เกิดภาพซ้อนมองเห็นเป็นภาพสามมิติ 3 ได้ สิ่งที่เด็กจะได้จากกิจกรรมนี้เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาได้รู้ทักษะการสังเกต พัฒนากล้ามเนื้อมือในการออกแรงปั่นไม้ จากกิจกรรมนี้สามารถนำไปพัฒนาเพื่อการสอนได้
ความรู้ที่ได้ร้บจากการนำเสนอบทความของเพื่อน
บทความที่1 เรื่องสอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ NaturalPhenomena
การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5ประการ คือ
ความเปลี่ยนแปลง (Change)
ความหลากหลาย (Variety)
การปรับตัว (Adjustment)
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality)
ความสมดุล (Equilibrium)
บทความที่2 เรื่องสอนลูกเรื่องสัตว์ Animals
-ฝึกทักษะการสังเกต การสำรวจ การจำแนก เปรียบเทียบ
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิต ความเป็นอยู่ของสัตว์
- ได้ทักษะการแปลความหรือลงข้อมูล เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกัน
-ได้ทักษะการทดลอง เช่น ทดลองความแตกต่างของลักษณะของเนื้อไก่เมื่อนำไปทอดหรือนึ่ง
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่นสัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์ นอกเหนือจากเด็กจะได้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสัตว์แล้วการเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุด มุ่งหมายสำคัญเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณ ธรรม จริยธรรม การมีความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอื่นๆได้ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย จากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง พัฒนาการทางด้านสังคมจากการเล่นและทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ การพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทาง ด้านคณิตศาสตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์ การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์ จึงเห็นได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆกัน
ประโยชน์ที่ได้-ฝึกทักษะการสังเกต การสำรวจ การจำแนก เปรียบเทียบ
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิต ความเป็นอยู่ของสัตว์
- ได้ทักษะการแปลความหรือลงข้อมูล เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกัน
-ได้ทักษะการทดลอง เช่น ทดลองความแตกต่างของลักษณะของเนื้อไก่เมื่อนำไปทอดหรือนึ่ง
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ครบทั้ง7ทักษะ
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
1. สอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถามเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละครั้ง ของสัปดาห์ที่เรียน
2. สอนโดยมีเทคนิคการบรรยายโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในสอนแต่ละครั้ง
3. เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และสักถามเพื่อให้มีส่วนร่วม
4. อาจารย์ฝึกให้นักศึกษามีทักษะการคิด
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
1. อาจารย์ใช้ PowerPoint ในการสอนและบรรยายการสอน
2. อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการนำเสนอ
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้อาจาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม สนุกมาก มีความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สนใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำทุกอย่าง ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามของอาจารย์ วันนี้ได้ใช้คำพูดภาษาอังกฤษกับอาจารย์ด้วยครับ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนนั่งเป็นแถวเรียบร้อย ไม่นั่งหลังห้อง เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของอาจารย์เป็นอย่างดีมาก
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดีมากครับ มีกิจกรรมที่สอดคล้องให้นักศึกษาได้ทำ ได้คิด ในการจัดกิจกรรมทุกๆครั้ง อาจายร์ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาคิดให้เป็น
- สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ครบทั้ง7ทักษะ
- ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นให้เด็กลงมืปฏิบัติเองมากกว่าฟังคำบรรยายจากครูเพราะเด็กจะได้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
- เลือกจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้คือประสาทสัมผัสทั้ง5 เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือ
- จากกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาทำ กิจกรรมการทำภาพซ้อน สอนเด็กให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านได้
ด้านร่างกาย เด็กก็จะได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
ด้านสังคม เด็กก็จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ในการทำงาน
ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กได้รับความสนุกสนานจากการปั่นไม้ เด็กจะได้รับความสนุก
ด้านสติปัญญา เด็กได้เรียนรู้เรียนรู้จากภาที่ซ้อนกันเป็นสามมิติ
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
1. สอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถามเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละครั้ง ของสัปดาห์ที่เรียน
2. สอนโดยมีเทคนิคการบรรยายโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในสอนแต่ละครั้ง
3. เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และสักถามเพื่อให้มีส่วนร่วม
4. อาจารย์ฝึกให้นักศึกษามีทักษะการคิด
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
1. อาจารย์ใช้ PowerPoint ในการสอนและบรรยายการสอน
2. อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการนำเสนอ
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้อาจาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม สนุกมาก มีความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สนใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำทุกอย่าง ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามของอาจารย์ วันนี้ได้ใช้คำพูดภาษาอังกฤษกับอาจารย์ด้วยครับ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนนั่งเป็นแถวเรียบร้อย ไม่นั่งหลังห้อง เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของอาจารย์เป็นอย่างดีมาก
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดีมากครับ มีกิจกรรมที่สอดคล้องให้นักศึกษาได้ทำ ได้คิด ในการจัดกิจกรรมทุกๆครั้ง อาจายร์ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาคิดให้เป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น