Welcome to the blog of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ยันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วันที่  26  กันยายน  2557
ครั้งที่  6  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
                  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมประดิษฐ์  "ลูกยางกระดาษ"  เป็นสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ทำได้ง่าย  และสอนเด็กปฐมวัยได้
                 อุปกรณ์มีดังต่อไปนี้
                              1.กระดาษ
                              2.กรรไกร
                              3.คลิปหนีบกระดาษ  (หากไม่มีให้ใช้แม็ก)
วิธีทำ
                         
ให้ตัดกระดาษขนาด  10  นิ้ว  x  3  นิ้ว


เมื่อได้กระดาษแล้ว  ให้พับครึ่ง


แล้วให้พับข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมาประมาณ  1  นิ้ว


ให้ตัดกระดาษครึ่งหนึ่งของที่พับ


เมื่อตัดกระดาษครึ่งหนึ่งแล้ว  จะได้ปีก  แล้วให้พับออกคนละข้าง  ก็จะได้ปีกลูกยาง


เมื่อกางปีกแล้ว  ให้นำที่นีบกระดาษมานีบ  หากไม่มีที่นีบกระดาษให้ใช้แม็คเย็บ



เสร็จแล้วนำไปโยนขึ้นฟ้า  เมื่อโยนแล้วลูกยางกระดาษจะหมุนลงมา


การทดลอง
  
                     อาจารย์ให้แถวที่  1-2  ออกมาสาธิตการโยนลูกยางกระดาษ  (โดยลูกยางกระดาษของแถวที่ 1-2  ตัดครึ่งกระดาษที่พับ)
                     แถวที่  3-5  ออกมาสาธิตการโยนลูกยางกระดาษ  (โดยลูกยางกระดาษของแถวที่ 3-5  ให้พับกระดาษครึ่งของครึ่ง  กระดาษที่พับครึ่งครั้งที่  1)

สรุปการทดลอง

                 จากการทดลองทำให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน  เมื่อนำลูกยางกระดาษที่มีความแตกต่างกันมาโยนปรากฏว่า ส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ลูกยางกระดาษสามารถหมุนได้เป็นวงกลมได้นานและคงที่คือ ปีก                  การทดลองนี้สรุปได้ว่าการที่ลูกยางลอยตัวลงมาได้อย่างสวยงามได้นั้นอาศัยการที่มีปีกหมุนอยู่ด้านบนทำให้แรงดันอากาศด้านบนน้อยกว่าด้านล่างจึงช่วยให้พยุงหนุนให้ลูกยางสามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้

สรุปการนำเสนอบทความของเพื่อน


บทความที่1  วิทยาศาสตร์กับการทดลอง  เรื่อง ดอกอัญชันทดสอบกรด-ด่าง


               สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มีความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ของบางอย่างกินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย
สิ่งที่ต้องใช้         
                1.  ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน)  15 ดอก
                2.  นำร้อน
                3.  ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
             วิธีทดลอง  นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น    นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลองเติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน  เพราะอะไรกันนะ   น้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง สารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว

                วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
                เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หินอากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภทการเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ 

บทความที่3  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

              วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น
             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย



บทความที่ 4  สอนลูกเรื่องอากาศ

                      การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ
   เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น 

                 ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป  จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง 


นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยนชน์
               จะนำความรู้ที่ได้รับจากบทความ  เรื่อง  การจัดประสบการ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ไปใช้กับเด็กให้เด็กรู้สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก  และให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  เพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้  จะนำวิทยาศาสตร์และการทดลอง  ไข่นิ่ม  ไปใช้ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์  เพื่อให้เด็กเกิดข้อสงสัย  และสามารถซักถามคุณครูได้  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการเล่านิทานเพื่อสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย  ให้เด็กได้สังเกต  ได้ซักถามคุณครู  และจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในวิชาชีพมากที่สุด

หน่วยการเรียนรู้  หน่วยกบ  ของกลุ่มผม

ต้นฉบับ


ฉบับสมบูรณ์



หน่วยการเรียนรู้ต่างๆของแต่ละกลุ่ม


ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         1.  สอนการประดิษฐ์ลูกยางกระดาษของเล่นวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ทำได้ง่าย
         2.  สอนโดยมีเทคนิคการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในการบรรยาย
         3.  เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย  อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย  เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์
         4.  ผู้สอนให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง  ทดลองจริง

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ

         1.  อาจารย์ใช้  PowerPoint  ในการสอนและบรรยายการสอน
         2.  อาจารย์ใช้อินเตอร์เน็ตในการเชื่อมต่อ  Blogger  ให้นักศึกษาเพิ่ม  Portfolio Electronics  ภายในห้องเรียน

การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง

               วันนี้ผมมีความสนใจและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมงานประดิษฐ์ และตั้งใจฟังเนื้อหาอาจารย์สอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกครั้ง  วันนี้ผมตอบคำถามอาจารย์ได้เป็นอย่างดี  พยายามที่จะทำความเข้าใจในบทความที่เพื่อนออกมานำเสนอ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มต่างๆ

       ประเมินเพื่อน
               วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมงานประดิษฐ์มาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ  ทำให้เพื่อนทุกคนสนใจและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม  พอถึงช่วงท้ายๆคาบที่มีการนำเสนอบทความของเพื่อนในวันนี้ยังรู้สึกว่าเพื่อนยังนำเสนอบทความได้ไม่น่าสนใจสักเท่าไร  ยังเป็นการเอามาอ่านซะมากกว่าการสรุป  เพื่อนๆไม่ค่อยฟังการนำเสนอบทความของเพื่อน

       ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์มีเทคนิคในการสอนมากมายเลย  อาจารย์ได้ให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์ด้วย  และสรุปการทดลองของการเล่นสิ่งประดิษฐ์  อาจารย์อธิบายและให้นักศึกษาแก้ไขหน่วยการเรียนรู้แล้วลง  Blogger  ให้สมบูรณ์  และการนำเสนอหน่วยการเรียนรู้อาจารย์จะให้  Comment  ทุกกลุ่มทุกครั้งครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น