บันทึกอนุทิน
วันที่ 3 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13: 10 - 16 : 40 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ โดยอาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมแกนทิชชู่มาคนละ 1 อัน
ขั้นตอนการทำของเล่นจากแกนทิชชู่
ขั้ตตอน
ของเล่นจากแกนทิชชู่
นำแกนทิชชู่มาตัดแบ่งครึ่ง แล้วนำตุ๊ดตู่มาเจาะทั้ง 2 ข้าง
แล้นนำเชือกมาร้อยเข้าแกนทิชชู่ทั้ง 2 ข้าง
นำกระดาษมาวาดรูปเป็นกลม แล้ววาดรูปสิงคโปร์ลงในวงกลม
หลังจากนั้นนำกระดาษที่วาดรูปเสร็จแล้ว นำมาตัดตามรอยวงกลม
หลังจากนั้นนำรูปที่ตัดเสร็จแล้ว มาติดบนแกนทิชชู่ เย่ๆๆ เสร็จแล้ว
เสร็จแล้วทุกคนคงสงสัยว่ามันเล่นกันอย่างไร อาจารย์ให้นักศึกษาสาธิตการเล่นของแต่ละคนว่าเล่นกันอย่างไร เพื่อแต่ละคนก็มีวิธีการเล่นที่แตกต่างกัน
สรุปจากการทดลองเล่น
ให้เอาเชือกมาคล้องคอแล้วดึงเชือกตรงปลายให้ตึงแล้วกางออกเรื่อยๆลองชักขึ้นชักลง หลังจากนั้น จะต้องสังเกตได้ว่ายิ่งกางเชือกมากเท่าไหร่แล้วขยับให้ตึงให้ได้องศาในการดึง แกนทิชชู่ก็จะเคลื่อนที่ขึ้นด้านบนได้เร็ว จากกิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่าการที่แกนทิชชู่จะสามารถเคลื่อนที่ได้
ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอบทความของเพื่อน
บทความที่1 การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำ เครื่องดื่มน้ำสมุนไพร
การจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการ สังเกต ทดลอง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมทำน้ำดื่มสมุนไพร เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร เรียนรู้การเปรียบเทียบ การชั่ง ตวง วัด และได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆจนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย การจัดกิจกรรมทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารและโภชนาการ เรียนรู้การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง
การสอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching children about Light and Shadow) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้ และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้เห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้นเด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่ การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดสัตว์และพืชบางชนิดมีแสงแสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้
บทความที่3 เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก
การเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้น งานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย นิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้ นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ยกตัวอย่างในเรื่องได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย นิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้ นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ยกตัวอย่างในเรื่องได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา เรืองรอง
การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching children about Gravity) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้ เช่น ศิลปะสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
- สามารถนำกิจกรรมการประดิษฐ์แกนทิชชู่นี้ไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านได้ ดังนี้
ด้านร่างกาย เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจากการใช้กรรไกรตัดแกนทิชชู่ การพับกระดาษก็จะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือ เด็กยังได้ฝึกการร้อยเชือกเข้ารู้เป็นการฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ด้านสังคม เด็กได้การประดิษฐ์งานสร้างสรรค์ร่วมกันกับเพื่อน การช่วยเหลือตนเองในการทำงานประดิษฐ์และช่วยเหลือเพื่อน
ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กได้รับความสนุกสนานจากการเล่นกับเพื่อนๆ
ด้านสติปัญญา ได้ความคิดสร้างสรรค์ในการวาดรูปตกแต่งระบายสี เด็กได้ฝึกการสังเกตและตั้งคำถามในการทำกิจกรรมการประดิษฐ์จากแกนทิชชู่ในครั้งนี้
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
1. สอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถามเกี่ยวกับของเล่นจากแกนทิชชู่ และฝึกให้นักศึกษารู้จักคิด เกิดข้อสังสัย รู้จักถาม
2. สอนโดยมีเทคนิคการบรรยายโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในสอนแต่ละครั้ง
3. เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์
4. อาจารย์ฝึกให้นักศึกษามีทักษะการคิดและเหตุผล
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
1. อาจารย์ใช้ PowerPoint ในการสอนและบรรยายการสอน
2. อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการนำเสนอ
3. อาจารย์ใช้ Internet ในการเชื่อมต่อ blogger ของนักศึกษา
4. อาจารย์ใช้เครื่องฉายภาพ เพื่อให้นักศึกษามองเห็นได้จัดเจนทุกครั้งเมื่อมีการยกตัวอย่างในชั้นเรียน
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้อาจาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมของเล่นจากแกนทิชชู่ สนุกมาก ได้แชร์การเล่นที่แตกต่างกันมีความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สนใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำทุกอย่าง ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามของอาจารย์
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแชร์การเล่นที่แตกต่างกัน ช่วยกันตอบคำถามทุกครั้งเมื่ออาจารย์ถามเป็นอย่างดี และแบ่งอุปกรณ์การทำของเล่นจากแกนทิชชู่ให้กับเพื่อนทุกคนเป็นอย่างดี เพื่อนไม่ต่อยคุยกัน ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดีมาก สอนสนุกด้วย ยังได้ทำกิจกรรมของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักศึกษา อาจารย์ให้นักศึกษาแชร์วิธีการเล่นที่แตกต่างกัน นักศึกษามีความรู้สึกสนใจตื่นเต้นในการเรียนและเมื่อทำเสร็จอาจารย์ได้ให้นักศึกษาลองทดลองวิธีการเล่นแบบต่างๆเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้คิดและฝึกการแสดงความคิดเห็นสาธิตวิธีการเล่น
- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้ เช่น ศิลปะสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
- สามารถนำกิจกรรมการประดิษฐ์แกนทิชชู่นี้ไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านได้ ดังนี้
ด้านร่างกาย เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจากการใช้กรรไกรตัดแกนทิชชู่ การพับกระดาษก็จะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือ เด็กยังได้ฝึกการร้อยเชือกเข้ารู้เป็นการฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ด้านสังคม เด็กได้การประดิษฐ์งานสร้างสรรค์ร่วมกันกับเพื่อน การช่วยเหลือตนเองในการทำงานประดิษฐ์และช่วยเหลือเพื่อน
ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กได้รับความสนุกสนานจากการเล่นกับเพื่อนๆ
ด้านสติปัญญา ได้ความคิดสร้างสรรค์ในการวาดรูปตกแต่งระบายสี เด็กได้ฝึกการสังเกตและตั้งคำถามในการทำกิจกรรมการประดิษฐ์จากแกนทิชชู่ในครั้งนี้
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
1. สอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถามเกี่ยวกับของเล่นจากแกนทิชชู่ และฝึกให้นักศึกษารู้จักคิด เกิดข้อสังสัย รู้จักถาม
2. สอนโดยมีเทคนิคการบรรยายโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในสอนแต่ละครั้ง
3. เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์
4. อาจารย์ฝึกให้นักศึกษามีทักษะการคิดและเหตุผล
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
1. อาจารย์ใช้ PowerPoint ในการสอนและบรรยายการสอน
2. อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการนำเสนอ
3. อาจารย์ใช้ Internet ในการเชื่อมต่อ blogger ของนักศึกษา
4. อาจารย์ใช้เครื่องฉายภาพ เพื่อให้นักศึกษามองเห็นได้จัดเจนทุกครั้งเมื่อมีการยกตัวอย่างในชั้นเรียน
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้อาจาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมของเล่นจากแกนทิชชู่ สนุกมาก ได้แชร์การเล่นที่แตกต่างกันมีความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สนใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำทุกอย่าง ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามของอาจารย์
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแชร์การเล่นที่แตกต่างกัน ช่วยกันตอบคำถามทุกครั้งเมื่ออาจารย์ถามเป็นอย่างดี และแบ่งอุปกรณ์การทำของเล่นจากแกนทิชชู่ให้กับเพื่อนทุกคนเป็นอย่างดี เพื่อนไม่ต่อยคุยกัน ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดีมาก สอนสนุกด้วย ยังได้ทำกิจกรรมของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักศึกษา อาจารย์ให้นักศึกษาแชร์วิธีการเล่นที่แตกต่างกัน นักศึกษามีความรู้สึกสนใจตื่นเต้นในการเรียนและเมื่อทำเสร็จอาจารย์ได้ให้นักศึกษาลองทดลองวิธีการเล่นแบบต่างๆเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้คิดและฝึกการแสดงความคิดเห็นสาธิตวิธีการเล่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น