Welcome to the blog of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วันที่  24  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  11  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  แล้วให้บอกของว่าของเล่นอะไร  เป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร  ดังนี้

Naroemon  Sengseng  (โยนไข่)
Worramit supap (เครื่องบินกระดาษ)
Bunyaporn Ponlakorn (กระป๋องโยกเยก)
  Areeya lampho  (ป.ปลาตากลม)
  Arisara Phusit  (แก้วกระโดด)
  Tanaphon Jaikla  (นักดำน้ำ)
  Pornwimon papol  (กบกระโดด)

  Sirothon Laongek  (บูมมาแรง)

  Prapassorn Hnusiri  (ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง)
  wanna eamwisuttisan  (ธนูจากไม่ไอติม)
  kanyarat nongok  (กระป๋องผิวปาก)
  Aruni Panarin  (ตุ๊กตาโยกเยก)
  kanyarat tuithangsat  (เรือโจรสลัดลอยน้ำ)

 Wanwipa Pongam  (ไก่กระต๊าก)
  Jenjira  torsi  (แท่นยิง)
  Butsarakam  Saruno  (เขาวงกต)
  Suthidarat  Kerdboonmee  (กงจักรมหัศจรรย์)
  thipmanee  somsri  (หนูวิ่ง)
  Pichakorn kaewnoi  (รถพลังลูกโป่ง)
  Warunyupa Lerdsri  (ลูกขาง)
  Natchaya Chanrong  (รถของเล่น)
  Kattika Saban-nga  (ไหมพรมเต้นระบำ)
  Kamolmart Janpaisri  (บ๋องแป๋ง)
  nisakon buaklang  (โมบายสายรุ้ง)
  Sasipha  Krongsong  (ฟองสบู่แสนเพลิน)
  mathurin onpim  (ขวดน้ำหนังสติก)
  Arisa Yunuh  (จรวดจากหลอดกาแฟ)
  Passorn Sripawatakul  (รถหลอดด้าย)
  Duankamon Kantalee  (จักจั่น)
  Sunisa buddaroam  (กลองแขก)
  Sirawan Yannasot  (ประทัดกระดาษ)
  butsara nimanong  (รถล้อเดียว)
  inthuon sribunchai  (เป่ารถ)า
  Namphu Yodtsuk  (เรือใบไม่ล่ม)
  Chanoknan  Bankratok  (แก้วส่งเสียง)

             อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ  ภายในกลุ่มเรียน  104  แล้วถามนักศึกษาว่าแต่ละหน่วยสามารถประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรจากที่เพื่อนได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์  ต่อมาอาจารย์ได้แนะนำเรื่องการเขียนแผนจักประสบการณ์  ว่าต้องมีวัตถุประสงค์  เน้นด้านสติปัญญา  ต้องมีสาระการเรียนรู้  ต้องมีประสบการณ์สำคัญทั้ง  4  ด้าน  แตกเนื้อหาเป็น  Mind  map  ต้องมีการบูรณาการทักษะรายวิชา  เช่น  คณิตศาสตร์  เปรียบเทียบ  มากกว่าน้อยกว่า  ต้องมีกิจกรรมหลักทั้ง  6  กิจกรรม  และต้องมีพัฒนาการทั้ง  4  ด้านด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้

              - สามารถนำนำความรู้ ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
             - สามารถนำความรู้ไปเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
              - สามารถนำการเขียนแผนจัดประสบการณ์  มาใช้กับการเป็นครูปฐมวัยในอนาคตได้  เพื่อใช้ในการสอน  ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน         

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน

         1.  ผู้สอนใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์เกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์
         2.  ผู้สอน  สอนโดยมีเทคนิคการบรรยายโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในสอนแต่ละครั้ง
         3.  เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย  อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย  เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์
         4.  อาจารย์สอนโดยการบรรยายและการใช้สื่อมัลติมิเดีย  ประกอบการสอน  และเครื่องฉายภาพ

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
         1.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการบรรยาย
         2.  อาจารย์ใช้มัติมิเดียในการสอน
         3.  อาจารย์ใช้เครื่องฉายภาพ  ในการให้ความรู้เพิ่มเติม     

การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง

             
              วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน  เรียนสนุก  แต่กายถูกระเบียบ  เรียบร้อย  และตั้งใจในการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย  เมื่อเพื่อนออกมานำเสนอผมทำการจดบันทึกการนำเสนอของเพื่อนทุกคน  เวลาผมออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ผมตื่นเต้นมาก

       ประเมินเพื่อน


               วันนี้เพื่อนเตรียมตัวมาดีในการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียนเป็นอย่างดี  เพื่อเตรียมตัวในการตอบคำถามของอาจารย์เป็นอย่างดี


       ประเมินอาจารย์

             
             อาจารย์สอนดีมาก  และแต่กายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์  และถามคำถามในการนำเสนอของเพื่อนทุกคน  และอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของเล่นวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาทุกคน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วันที่  24  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  10  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                  
                   วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม  และอาจารย์ไได้ยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  หน่วย  เครื่องเขียน  เริ่มจากการร้องเพลงเกี่ยวกับเครื่องเขียนให้เด็กๆฟังก่อน  แล้วให้เด็กๆบอกว่าเด็กรู้จักปากกาอะไรบ้างจากเพลง  ถ้าเด็กเล็กก็จะออกมาหยิบตัวเลขมาวางตรางส่วนท้ายของจำนวนทุดท้ายของเครื่องเขียน  แต่ถ้าเป็นเด็กโตก็จะเขียนตัวเลขใส่กระดาษแล้วนำมาวางตรงจำนวนสุดท้ายของเครื่องเขียน  โดยอาจารย์บกตัวอย่างเครื่องทั้งหมด  8  ชิ้น  ดังนี้  ปากกา  5  ด้าม  ดินสอ  3  แท่ง  ต่อมาก์ให้เด็กออกมามาแยกปากกาออกจากดินสอ  จะได้ทักษะการจำแนกประเภท  โดยแยกออกเป็น  2  กลุ่มดังนี้
         1.  กลุ่มที่มีปากกา
         2.  กลุ่มที่ไม่มีปากกา

ความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ทบทวนให้กิจกรรมหลัก  6  กิจกรรม

การนำไปประยุกต์ใช้
              - สามารถนำนำความรู้  6  กิจกรรมหลักไปใช้ในการจัดประสบการณ์หน่วยต่างๆได้
             - สามารถเลือกเนื้อหาที่ควรสอนกับเด็ก  เป็นเรื่องรอบๆตัวของเด็ก
              - นำหลักการสอนแต่ละหน่วย  แต่ละวันไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูต่อไป            

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน

         1.  ผู้สอนใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์
         2.  ผู้สอน  สอนโดยมีเทคนิคการบรรยายโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในสอนแต่ละครั้ง
         3.  เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย  อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย  เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์
         4.  อาจารย์สอนโดยการบรรยายและการใช้สื่อมัลติมิเดีย  ประกอบการสอน

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
         1.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการบรรยาย
         2.  อาจารย์ใช้มัติมิเดียในการสอน
         3.  อาจารย์ใช้เครื่องฉายภาพ  ในการให้ความรู้เพิ่มเติม      

การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง

             
              วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน  เรียนสนุก  แต่กายถูกระเบียบ  เรียบร้อย  และตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและการยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์  หน่วย  ปากกา  ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกครั้ง

       ประเมินเพื่อน


               วันนี้เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ในการสอน  และตั้งใจฟังการยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์  หน่วย  ปากกา  เป็นอย่างดี  

       ประเมินอาจารย์
             
             อาจารย์สอนดีมาก  และแต่กายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์เข้าใจแต่มีบางครั้งอาจารย์พูดเข้าใจยาก  บางคำถามเด็กนักศึกษาก็ไม่กล้าตอบอาจารย์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วันที่  17  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  9  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
               วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำการเขียนแผนจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้  Mind  Map


การนำไปประยุกต์ใช้
              - สามารถนำไปเป็นแนวในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยได้
             - สามารถเลือกเนื้อหาที่ควรสอนกับเด็ก  เป็นเรื่องรอบๆตัวของเด็ก
              - สามารถนำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ในวิชาชีพ                    

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน

         1.  ผู้สอนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม  เมื่ออาจารย์ถาม  และฝึกให้นักศึกษารู้จักคิด  เกิดข้อสังสัย
         2.  ผู้สอน  สอนโดยมีเทคนิคการบรรยายโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในสอนแต่ละครั้ง
         3.  เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย  อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย  เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์
         4.  อาจารย์ฝึกให้นักศึกษามีทักษะการคิดและเหตุผล
         5.  อาจารย์ใช้คำถามซ้ำเพื่อให้นักศึกษาตอบคำถามอาจารย์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ

         1.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการนำเสนอ
         2.  อาจารย์ใช้  Internet  ในการเชื่อมต่อ  blogger  ของนักศึกษา
         3.  อาจารย์ใช้เครื่องฉายภาพ  ในการยกตัวอย่างหรือให้คำแนะนำแก่นักศึกษา        

การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง

             
              วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา  เรียนสนุก  อาจาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม  จดการให้คำแนะนำของอาจารย์ทุกคำ  เพื่อมาปรับปรุงข้อผิดพลาดของตนเอง  ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกครั้ง

       ประเมินเพื่อน


               วันนี้เพื่อนทุกกลุ่ม  ยังไม่มีความพร้อมสักเท่าไหร  เห็นได้จากการเขียนหน่วยการเรียนรู้  มีข้อผิดพลาดเยอะ  อาจารย์ให้คำแนะนำทุกๆกลุ่ม

       ประเมินอาจารย์

             
             อาจารย์สอนดีมาก  อาจารย์ให้คำแนะนำทุกกลุ่มเกี่ยวกับการเขียนหน่วยการเรียนรู้  ว่ากลุ่มไหนมีข้อพกพร่องอย่างไร  ควรปรับปรุงตรงไหน  วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเยอะมากเลยครับ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วันที่  10  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  8  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.

หมายเหตุ  :  วันนี้ไม่มีการจัดการเรียนการสอน  เนื่องจากสอบกลางภาคเรียน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วันที่  3  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  7  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
                      วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ  โดยอาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมแกนทิชชู่มาคนละ  1  อัน
ขั้นตอนการทำของเล่นจากแกนทิชชู่


ขั้ตตอน
                
                                                                    ของเล่นจากแกนทิชชู่


นำแกนทิชชู่มาตัดแบ่งครึ่ง  แล้วนำตุ๊ดตู่มาเจาะทั้ง  2  ข้าง


แล้นนำเชือกมาร้อยเข้าแกนทิชชู่ทั้ง  2  ข้าง


นำกระดาษมาวาดรูปเป็นกลม  แล้ววาดรูปสิงคโปร์ลงในวงกลม


หลังจากนั้นนำกระดาษที่วาดรูปเสร็จแล้ว  นำมาตัดตามรอยวงกลม


หลังจากนั้นนำรูปที่ตัดเสร็จแล้ว  มาติดบนแกนทิชชู่  เย่ๆๆ  เสร็จแล้ว

เสร็จแล้วทุกคนคงสงสัยว่ามันเล่นกันอย่างไร  อาจารย์ให้นักศึกษาสาธิตการเล่นของแต่ละคนว่าเล่นกันอย่างไร  เพื่อแต่ละคนก็มีวิธีการเล่นที่แตกต่างกัน


สรุปจากการทดลองเล่น

                ให้เอาเชือกมาคล้องคอแล้วดึงเชือกตรงปลายให้ตึงแล้วกางออกเรื่อยๆลองชักขึ้นชักลง  หลังจากนั้น  จะต้องสังเกตได้ว่ายิ่งกางเชือกมากเท่าไหร่แล้วขยับให้ตึงให้ได้องศาในการดึง แกนทิชชู่ก็จะเคลื่อนที่ขึ้นด้านบนได้เร็ว จากกิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่าการที่แกนทิชชู่จะสามารถเคลื่อนที่ได้


ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอบทความของเพื่อน




                    การจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการ สังเกต ทดลอง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมทำน้ำดื่มสมุนไพร เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร เรียนรู้การเปรียบเทียบ การชั่ง ตวง วัด และได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆจนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย  การจัดกิจกรรมทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารและโภชนาการ เรียนรู้การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา  เรืองรอง

                            การสอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching  children  about Light and Shadow) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้ และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้เห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้นเด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่ การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ  ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดสัตว์และพืชบางชนิดมีแสงแสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้


ผู้เขียน ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก

                   การเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้  เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้น งานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
                    
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย นิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย  ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้ นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู ตัว ยกตัวอย่างในเรื่องได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่  ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด


ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา  เรืองรอง

           การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching children about Gravity) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
              - สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้  เช่น  ศิลปะสร้างสรรค์  วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์
             - สามารถนำกิจกรรมการประดิษฐ์แกนทิชชู่นี้ไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านได้ ดังนี้     
                     ด้านร่างกาย เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจากการใช้กรรไกรตัดแกนทิชชู่ การพับกระดาษก็จะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือ  เด็กยังได้ฝึกการร้อยเชือกเข้ารู้เป็นการฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา                          ด้านสังคม เด็กได้การประดิษฐ์งานสร้างสรรค์ร่วมกันกับเพื่อน การช่วยเหลือตนเองในการทำงานประดิษฐ์และช่วยเหลือเพื่อน 
                     ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กได้รับความสนุกสนานจากการเล่นกับเพื่อนๆ
                     ด้านสติปัญญา ได้ความคิดสร้างสรรค์ในการวาดรูปตกแต่งระบายสี เด็กได้ฝึกการสังเกตและตั้งคำถามในการทำกิจกรรมการประดิษฐ์จากแกนทิชชู่ในครั้งนี้

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน

         1.  สอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถามเกี่ยวกับของเล่นจากแกนทิชชู่  และฝึกให้นักศึกษารู้จักคิด  เกิดข้อสังสัย  รู้จักถาม
         2.  สอนโดยมีเทคนิคการบรรยายโดยมีการใช้ภาษาอังกฤษสอดแทรกในสอนแต่ละครั้ง
         3.  เมื่อนักศึกษาคุยกันในเวลาอาจารย์บรรยาย  อาจารย์มีเทคนิคในการปราบนักศึกษาที่คุยกันโดยการหยุดบรรยาย  เพื่อให้นักศึกษาตั้งใจฟังอาจารย์
         4.  อาจารย์ฝึกให้นักศึกษามีทักษะการคิดและเหตุผล

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ

         1.  อาจารย์ใช้  PowerPoint  ในการสอนและบรรยายการสอน
         2.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการนำเสนอ
         3.  อาจารย์ใช้  Internet  ในการเชื่อมต่อ  blogger  ของนักศึกษา
         4.  อาจารย์ใช้เครื่องฉายภาพ  เพื่อให้นักศึกษามองเห็นได้จัดเจนทุกครั้งเมื่อมีการยกตัวอย่างในชั้นเรียน

การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง

             
              วันนี้อาจาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมของเล่นจากแกนทิชชู่  สนุกมาก  ได้แชร์การเล่นที่แตกต่างกันมีความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สนใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำทุกอย่าง ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามของอาจารย์

       ประเมินเพื่อน


               วันนี้เพื่อนแชร์การเล่นที่แตกต่างกัน  ช่วยกันตอบคำถามทุกครั้งเมื่ออาจารย์ถามเป็นอย่างดี  และแบ่งอุปกรณ์การทำของเล่นจากแกนทิชชู่ให้กับเพื่อนทุกคนเป็นอย่างดี  เพื่อนไม่ต่อยคุยกัน  ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน

       ประเมินอาจารย์

             
             อาจารย์สอนดีมาก  สอนสนุกด้วย  ยังได้ทำกิจกรรมของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักศึกษา  อาจารย์ให้นักศึกษาแชร์วิธีการเล่นที่แตกต่างกัน  นักศึกษามีความรู้สึกสนใจตื่นเต้นในการเรียนและเมื่อทำเสร็จอาจารย์ได้ให้นักศึกษาลองทดลองวิธีการเล่นแบบต่างๆเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้คิดและฝึกการแสดงความคิดเห็นสาธิตวิธีการเล่น