Welcome to the blog of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ของเล่นวิทยาศาสตร์


THESIS

Thesis


THESIS  BY  SONKID  SOENCHAI

PRESENTED  IN  PARTIAL  FULFILLMENT  OF  THE  REQUIREMEMENTS  FOR  THE  MASTER  OF  EDUCATION  DEGREE  IN  EARLY  CHILDHOOD  EDUCATION
AT  SRINAKHARINWIROT  UNIWERSITY
MAY  2014

ความมุ่งหมายของงานวิจัย

                    การวิจัยในครั้งนี้  เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงเหตุผลที่มีต่อการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
                            1.  เพื่อศึกษาระดับความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมและด้านที่มีการวัดก่อนและหลังการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                            2.  เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหนังที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ขอบเขตของงานวิจัย

        ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
               ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เด็กปฐมวัย  ชาย  -    หญิง  อายุ  5 - 6 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่  3  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย  เขตบางละมุง  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  จังหวัดชลบุรี

ระยะเวลาในการทดลอง
               
                การทดลองครั้งนี้กระทำในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2556  ใช้เวาในการทดลอง  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  3  วัน     วันละ  20  นาที    ใช้ช่วงเวลา  09:00 - 09:20  น.    รวมระยะเวลาในการทำลองทั้งสิ้น  24  ครั้ง

ตัวแปรการศึกษา

                1.  ตัวแปรต้น       ได้แก่   การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                2.  ตัวแปรตาม     ได้แก่   การคิดเชิงเหตุผล

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย

                ในการวิจัยเรื่องการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในหารวิจัย  คือ
                1.  แบบทดสอบการิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย
                2.  แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ผลการศึกษา

              จากผลการทดลองพบว่าเด็กปฐมวัยมีความคิดเชิงเหตุผลในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้และแสดงให้เด็กว่าการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้น

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  พฤศจิกายน  2557
ครั้งที่  15  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                  
                 วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการใช้คำถาม  ว่าเป็นเทคนิคที่ใช้เยอะในหารสอนเด็กและเป็นเทคนิคที่สำคัญ  การถามหลายประเภท  ดังนี้
คำถาม
               1.  คำถามเปรียบเทียบ
               2.  คำถามจำแนกประเภท
               3.  คำถามให้ยกตัวอย่าง
               4.  คำถามให้สังเกต
               5.  คำถามทบทวนความจำ
               6.  คำถามอธิบายความหมาย
               7.  คำถามอธิบาย

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีคำถามประเภทอื่นและตัวอย่างคำถาม  ดังนี้
               1.  คำถามประสบการณ์เดิม
               2.  คำถามให้เด็กวิเคราะห์
               3.  คำถามให้สังเกต  เช่น  ถ้าเราเปิดไฟทิ้งไว้จะเกิดอะไรขึ้น
               4.  คำถามทบทวนความจำ  เช่น  นิทาน  เพลงมีเนื้อหาอะไรบ้าง
               5.  คำถามอธิบาย  เช่น  ทำไมกบต้องจำศิล  ทำไมฝนจึงตก  ทำไมน้ำไหลที่สูงลงที่ต่ำ
               6.  คำถามอธิบายความหมาย  เช่น  ส้มเป็นผลไม้
               7.  คำถามเปรียบเทียบ  เช่น  กล้วยทอดและกล้วยเชื่อม  กล้วยชนิดไหนหวานกว่ากัน

ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่ม  หน่วย  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์  แล้วให้แต่ละกลุ่มทำแผ่นพับออกแบบสานสัมพันธ์ระว่างบ้านกับโรงเรียน  ซึ่งมีวัตุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง  ซึ่งมีหลายวิธี

องประกอบแผ่นพับจะประกอบไปด้วยส่วยต่างๆดังนี้
               1.   ตราโรงเรียน  (แสงปัญญา)
               2.  ชื่อโรงเรียน  (โรงเรียนอนุบาลแสงปัญญา)
               3.  หน่วย  กบ
               4.  ชื่อเด็ก
               5.  ระดับชั้นอนุบาล
               6.  ชื่อครูประจำชั้น
               7.  วัตถุประสงค์
               8.  เนื้อหา
               9.  คำคล้องจองและเพลง
               10.  เกมการศึกษา
   

ด้านหน้า


               
ด้านหลัง


การนำไปประยุกต์ใช้
              - สามารถนำความรู้ จากการทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียนไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้ปกครองของเด็ก
             - สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการใช้คำถามต่างๆ  ไปใช้ให้เกิดประในการสอน  เพื่อให้เด็กกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก
              - สามารถนำความรู้จากคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประวิชาชีพครู         

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน

         1.  ผูสอนบรรยายและใช้สื่อมัลติมีเดีย  (Microsoft  Word)  ประกอบการเรียนการสอน


การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
         1.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการบรรยาย
         2.  อาจารย์ใช้มัติมิเดียในการสอน  (Microsoft  Word)

การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง

             
              วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน  เรียนสนุก  แต่กายถูกระเบียบ  เรียบร้อย  วันนี้แบ่งหน้าที่กันทำแผ่นพับ  วันนี้ช่วยระดมความคิดและออกแบบตราโรงเรียนอนุบาลแสงปัญญา

       ประเมินเพื่อน


               วันนี้เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ในการทำแผ่นพับสานมันพันธ์บ้านกับโรงเรียน  เพื่อนกลุ่มช่วยกันทำแผ่นพับดีมาก  ส่งตรวจเป็นกลุ่มแรก  ส่งเป็นกลุ่มแรกครับ


       ประเมินอาจารย์

             
             อาจารย์สอนดีมาก  และแต่กายสุภาพเรียบร้อย  วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำกับนักศึกษาในการทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียนเป็นอย่างดี

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วันที่  21  พฤศจิกายน  2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
              วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาส่งของเล่นวิทยาศาสตร์เรียงตามเลขที่  เพื่อเป็นการทบทวน  และนำของเล่นวิทยาศาสตร์ออกมาแยกประเภท  แต่ละประเภท  ดังต่อไปนี้





1.  Gravitation


             2.  Ari  Pressure,Wind


3.  Sound


4.  Water


5.  Energy


หลังจากส่งของเล่นวิทยาศาสตร์เสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนอ  Article  and  Research  อาจารย์ออกมานำเสนอเป็นครั้งสุกท้าย


Activity  2  Present  TV  teacher  and  Research

1.  Nisakon  Buaklang
วัตถุประสงค์  :  1.  เพื่อศึกษากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล  2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                         2.  เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล  2  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์

2.  Inthuon  Sribunchai
Research  :  การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่  2
วัตถุประสงค์  :  1.  เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่  2
                         2.  เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนกลัง
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
                         1.  การจำแนก
                         2.  การวัด
                         3.  การลงความเห็นระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

3.  Duankamon  Kantalee
Thesis  By  :  Sumalee  Muadthaisong
ตัวแปรต้น  :  กิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ตัวแปรตาม  :  การวิเคราะห์
นิยามศัพท์  :  การวิเคราะห์ความหมายในการจำแนกกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  แยกแยะความเหมือนความต่าง
ตัวอย่างหน่วย
                     1.  แว่นขยายเห็นชัดเจน
                                     1.1  ให้แว่นขยายเพื่อให้เด็กไปสำรวจ
                                     1.2  ให้เด็กศึกษารายละเอียดของสิ่งที่นำมา
                                     1.3  ให้เด็กศึกษารายละเอียดของสิ่งที่นำมา
                                     1.4  ครูใช้คำถาม
                                     1.5  ให้เด็กวาดภาพสิ่งที่เด็กๆไปสำรวจ
                                     1.6  นำออกมาเล่นให้เพื่อนๆฟัง

4.  Wanwipa  Phongam
Thesis  By  :  Wanitcha  Sittipon
ตัวแปรต้น  :  การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
ตัวแปรตาม  :  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วย
                                     1  การสังเกต
                                     2  การจำแนก
                                     3  การวัด
                                     4  การสื่อความหมายข้อมูล
วิธีการสอน
             ขั้นนำ  :  นำเข้าสู่กิจกรรมด้วยการร้องเพลง  คำคล้องจอง  ปริศนาคำทาย  และสื่อต่างๆ
             ขั้นสอน  :         1.1  ครูแนะนำวัสดุอุกรณ์
                                     1.2  ครูแนะนำกิจกรรมการทำน้ำฝรั่ง  พร้อมวิธีการทำอย่างละเอียด
                                     1.3  ครูและเด็กร่วมกันทำน้ำฝรั่ง
                                     1.4  ครูและเด็กร่วมกันรับประทานน้ำฝรั่ง
              ขั้นสรุป  :  
                                     1.  ครูใช้คำถามกับเด็ก
                                     2.  ครูและเด็กร่วมกันสรุปวิธีการทำน้ำฝรั่ง

5.  Pichakorn  Kaewnoi
Teachers  TV  :  กิจกรรมส่องนกในโรงเรียน
              เด็กจะได้สัมผัสกับธรรมชาติ  สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว  หารให้อาหารนก  รู้ลักษณะต่างๆของนก
วิธีการสอน
                ขั้นนำ  :  1.  ครูให้เด็กไปสำรวจนก
                               2.  เด็กส่องนกพร้อมจดบันทึก
                ขั้นสอน  :
                               1.  ครูใช้คำถามกับเด็ก
                               2.  ครูและเด็กร่วมกันสรุปวิธีการทำน้ำฝรั่ง
              ขั้นสรุป  :  ครูและเด็กร่วมกันสรุปนกที่ได้พบเจอมา
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
                                1.  การสังเกต
                                2.  การจำแนก
                                3.  การสื่อความหมายข้อมูล
                                4.  การลงความเห็น



6.  Passorn  Sripawatakul

Teachers  TV  :  สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
วิธีการปลูกฝั่ง  :  จัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก  ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง  ให้เด็กสังเกตสิ่งรอบๆตัว  ให้มีความรอบคอบ  ชอบสังเกต  ชอบซักถาม


7.  Sirothon  Laongek
Teachers  TV  :  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
หลักการสอน  :  
                         1.  สอนให้สนุก
                         2.  ไม่ไกลตัวเด็ก
                         3.  ให้เด็กได้ทดลอง
                         4.  ให้เด็กได้จำ


กิจกรรมต่อไป  อาจารย์ได้สาธิตการทำ  Cooking  โดยการทำ  Waffle  ร่วมกับนักศึกษา
            อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม  กลุ่มละ  5 -6  คน  อาจารย์และเพื่อนช่วยกันแบ่งวัสดุอุปกรณ์ให้แต่ละกลุ่ม  



Step  Method to  Make  Waffle

1.  Waffle  Maker
2.  Butter
3.  Waffle  Powder
4,  Egg
5.  Water
6.  Mixer
7.  Brush
8.  Dish
9.  Spoon  and  Fork
10.  Knife

บรรยากาศในการทำ  Cooking  to Make Waffle





การนำไปประยุกต์ใช้
              - จะนำสิ่งประดิษฐ์และสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ไปใช้ให้เกิดประโยชน์  เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีความรู้มากยิ่งขึ้น
             - นักศึกษาสามารถประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สอดแทรกแผนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  โดยการดูแลของครูอย่างใกล้ชิด

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน

         1.  ผู้สอนบรรยายอย่างเดียว  เกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         2.  ผู้สอน  อธิบาย  การทำ  Cooking  อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
         
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
         1.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการบรรยาย
         2.  อาจารย์ใช้มัติมิเดียในการสอน

การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง

             
              วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน  เรียนสนุก  แต่กายถูกระเบียบ  เรียบร้อย  วันนี้อาจารย์สอนวิธีการทำ  Cooking  ทำ  Waffle  สนุกมาก  และการทำ  Cooking  ทุกครั้งคุณครูไม่ควรลืมที่จะตั้งคำถามที่จะถามเด็ก  เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต  และเกิดการเรียนรู้

       ประเมินเพื่อน


               เพื่อนมาเรียนตรงเวลา  แต่เพื่อนบางคนก็มาเรียนสาย  เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์บอกวิธีขั้นตอนการทำ  Cooking  อย่างเป็นขั้นตอน  ฟังอาจารย์เป็นอย่างดี  แต่มีบางครั้งนักศึกาาไม่ฟังการบรรยายของอาจารย์


       ประเมินอาจารย์

             
             อาจารย์สอนดีมาก  และแต่กายสุภาพเรียบร้อย  วันนี้ในช่วงคาบเรียนอาจารย์ดูเครียดไปหน่อย  กับการนำเสนอวิจัยโทรทัศน์ครู  และตอนช่วงทำ  Cooking  หลังๆตอนช่วยท้ายจะหมดคาบอาจารย์ดูเหมือนเครียดเพราะนักศึกษาไม่ฟังตามที่อาจารย์บอก  อาจารย์ยังฝึกให้นักศึกษาได้ปฏิบัติด้วยตนเอง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วันที่  14  พฤศจิกายน  2557
ครั้งที่  13  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.


องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                  
                 วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มเพื่อนที่ยังไม่นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ให้ออกมาแก้วิธีการสอนใหม่  2  กลุ่ม  ดังนี้

วันที่  1  หน่วยแปรงฟัน
               -  เริ่มต้นการสอนโดยใช้เพลงสวัสดี  อ่านคำคล้องจองแปรงฟันให้เด็กฟัง  สอนให้เด็กรู้จักชื่อและชนิดของแปรงสีฟันว่ามีอะไรบ้าง  มีแปรงสีฟันเด็ก  แปรงสีฟันผู้ใหญ่
 คำแนะนำจกอาจารย์
                  -  อาจารย์ให้อ่านคำคล้องจองให้เด็กอ่านตาม  ให้เด็กออกมาเลือกแปรงสีฟัน ถ้าเป็นเด็กเล็กนำมาแปะด้านล่าง  ให้จับคู่  1  :  1  เช่น  แปรงสีฟันเด็ก  :  แปรงสีฟันเด็ก  เพื่อเป็นการนับจำนวน  ว่ามีมากกว่าหรือน้อยกว่าเท่าไร  ครูควรถามเนื้อหาในคำคล้องจองจากเด็ก  เพื่อทบทวนว่าเด็กมีความเข้าใจในคำคล้องจองหรือไม่  และนอกจากนี้เด็กยังรู้จักแปรงสีฟันชนิดไหนอีก  เพื่อเป็นการถามประสบการณ์เดิมของเด็ก  ควรใช้คำศัพท์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์  และเลือกเพลงให้เหมาะกับเนื้อหาที่เรียน

วันที่  2  หน่วยผีเสื้อ
                -  เริ่มต้นการสอนโดยการใช้เพลงสวัสดีแบบไทยๆ  แล้สสอนให้เด็กรู้จักส่วนประกอบของผีเสื้อ  มีรูปผีเสื้อมาให้ดู  2  ชนิด
คำแนะนำจากอาจารย์
                -  ให้ใช้เพลง  Hello  Hello  How  are  you  จะดีกว่า  ครูควรถามเด็กว่าเด็กรู้จักแมลงอะไรบ้าง  ครูร้องเพลงผีเสื้อ  แล้วถามเด็กว่า  ในเพลงผีเสื้อมีผีเสื้อสีอะไร  ครูเอารูปผีเสื้อมาให้เด็กดู  แล้วถามเด็กว่าเคยเห็นผีเสื้อแบบนี้ไหม  มีสีอะไร  ผีเสื้อกำลังทำอะไร  ควรเขียนตารางเปรียบเทียบของผีเสื้อว่ามีอะไรบ้างที่เหมือนกัน  และไม่เหมือนกัน

วันที่  1  หน่วยกล้วย
               -  เร่มต้นการสอนโดยการร้องเพลงกล้วย  แล้วให้เด็กร้องเพลงตาม  แล้วสอนให้เด็กรู้จักกล้วยชนิดต่างๆ  ว่ามีกล้วยอะไรบ้าง  มีกล้วยไข่  กล้วยน้ำหว้า  กล้วยเล็บมือนาง  กล้วยหอม  เป้นต้น
คำแนะนำจากอาจารย์
               -  ให้เด็กอ่านคำคล้องจองตามครู  แล้วร้องให้เด็กร้องตาม  แล้วครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง  ครูควรถามเด็กว่าในเพลงมีกล้วยอะไรบ้าง  แล้วครูก็เขียนเป็น  Mind  Map  แล้วครูถามเด็กว่ารู้จักกล้วยชนิดไหนอีกบ้าง  พอเด็กตอบ  ครูก็เขียนลงใน  Mind  Map  ครูมีรูปกล้วยให้เด็กดู  แล้วบอกว่าคือกล้วยอะไร  ให้เด็กแยกกล้วยหอมออกมาด้านล่าง  โดยการถามว่า  อันไหนมีมากกว่ากัน  พิสูจน์โดยการจับ  1  :  1  แล้วสรุปอันไหนมีมากกว่ากัน  ครูทบทวนว่าเด็กรู้จีกกล้วยกี่ชนิด  มีอะไรบ้าง  และอาจารย์แนะนำให้เขียน  Mind  Map  ควรเขียนในแผ่นเดียว


วันนี้อาจารย์ได้สาธิตการสอน  COOKING  โดยการทำ  ทาโกะยากิ  Takoyaki


              อาจารย์จัดโต๊ะหน้าชั้นเรียน  4  โต๊ะ  กิจกรรม  Cooking  จะได้ศิลปะไปในตัวด้วย  ครูไม่ลืมที่จะตั้งคำถามในระหว่างการทำ  Cooking  อาจารย์ให้จับกลุ่ม  กลุ่มละ  5  คน  ประจำโต๊ะแล้วเวียนกันทำ  ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง  
อาจารย์ให้เด็ก     ตักปูอัด  ครึ่งช้อนชา      แครอท  ครึ่งช้อนชา     ต้นหอม  ครึ่งช้อนชา     ข้าว  1   ช้อน       ไข่  1  ช้อน         และ  ซอส  ครึ่งซ้อนชา
อุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้ในการทำทาโกยากิ  ดังนี้
1  เตาที่ใช้สำหรับทำทาโกะยากิ
2  Margarine
3  egg
4  Crab
5  onion
6  carrot
7  rice
8  Soy Sauce
9  knife
10  spoon  -  rehearse
11  plastic cups

การนำไปประยุกต์ใช้
              - สามารถนำนำความรู้ ที่ได้เรียนในหน่วยต่างในวันนี้ไปปรับใช้ในเรื่อง  การเขียนการจัดประสบการณ์  และเทคนิควิธีการสอน  ให้ถูกต้อง  ไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
             - สามารถนำความรู้ในการทำ   Cooking  ในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยให้เดิกประโยชน์สูงสุด
              - ครูไม่ควรลืมที่จะตั้งคำถามกับเด็ก  เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต  และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน

         1.  ผู้สอนบรรยายอย่างเดียว
         2.  ผู้สอนให้ทำ  Cooking  โดยให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติทุกคน
         3.  อาจารย์บอกเทคนิคในการสอน  Cooking  ครูไม่ควรลืมที่จะตั้งคำถามกับเด็ก  เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
         1.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการบรรยาย

การประเมินในชั้นเรียน

       ประเมินตัวเอง

             
              วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา  วันนี้อาจารย์สอนการทำ  Cooking  และจะนำการทำ  Cooking  ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น  และนำการทำ  Cooking  ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยให้เกิดประโยนช์สูงสุด  และสิ่งสำคัญที่สุดของการทำ  Cooking  ครูต้องไม่ลืมที่จะตั้งคำถามถามเด็ก  เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต  และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก

       ประเมินเพื่อน


               เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงเวลา  เพื่อนตั้งใจฟังวิธีการสอนและอธิบายวิธีการทำ  Cooking  ผมตั้งใจฟังขั้นตอนและวิธีการทำ  Cooking  มาก


       ประเมินอาจารย์
             
             อาจารย์สอนดีมาก  และแต่กายสุภาพเรียบร้อย  และวันนี้อาจารย์สอนสนุก  และอธิบายขั้นตอนวิธีการทำ  Cooking  ละเอียดมากอย่างเป็นขั้นตอน  โดยครูไม่ควรลืมที่จะตั้งคำถามถามเด็ก  เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต  และเกิดการเรียนรู้

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วันที่  7 พฤศจิกายน  2557
ครั้งที่  12  เวลาเรียน  13: 10 - 16 : 40 น.
องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                  วันนี้อาจารย์ได้ตรวจความถูดต้องของแผนการจัดประสบการณ์และดูวิธีการสอนของแต่ละหน่วยซึ่งมีดังต่อไปนี้

วันที่ 1 หน่วย  กล้วย

          -  เพื่อนเริ่มด้วยการใช้เพลงสวัสดี  แล้วถามเด็กเกี่ยวกับชนิกของกล้วย  ร้องเพลงกล้วยให้ฟัง  แล้วให้เด็กบอกว่ารู้จักกล้วยชนิดไหนบ้างจากเพลงกล้วย
คำแนะนำของอาจารย์
          -  วัตถุประสงค์ไม่ผ่าน  อาจารย์ได้แนะนำวิธีการการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กลุ่มกล้วย  ครูต้องมีความรู้  มีความใฝ่รู้  เมื่อเด็กได้คุยกัน  ครูต้องมีวิธีการเก็บเด็กให้เด็กสนใจฟัง  อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง  การแยกกลุ่ม  ให้สังเกตลักษณะ  รูปทรง  พื้นผิว  เป็นต้น

วันที่  2  หน่วยกบ

                  -  เพื่อนใช้คำถาม  เมื่อวานเด็กๆเรียนเรื่องอะไรไปบ้าง  เด็กตอบว่าชนิดของกบ  ต่อมาเด็กพาร้องเพลงกบ
คำแนะนำจากอาจารย์
                  -  ให้ถามเด็กหลังากร้องเพลงกบ  ว่ากบมีลักษณะอย่างไรบ้าง  เช่น  ลักษณะของกบนา  เด็กบอกกบนามีสีน้ำตาล  ในขณะที่เด็กตอบ  ครูต้องบันทึกสิ่งที่เด็กพูด
  
วันที่  3  หน่วย  กะหล่ำปลี
                  -  เสนอเรื่องประโยชน์และโทษ  เพื่อเริ่มต้นด้วยคำถาม  ว่าเด็กๆเห็นกะหล่ำปลีที่ไหนบ้าง  เด็กๆคิดว่ากะหล่ำปลีมีลักษณะอย่างไร  กะหล่ำปลีมีประโยนชน์อย่างไรบ้าง  เด็กตอบว่า  ทำให้ฟันแข็งแรง  ทำอาหาร  ทำกระทง  ทำให้ร่างกายแข็งแรง  ข้อควรระวัง  กะหล่ำปลีมีสารพิษ  ขม  มีดินติดอยู่ในใบ  
                -  คำแนะนำจากอาจารย์  ขั้นนำต้องนำเทคนิคให้สอดคล้องกับเรื่องที่สอน  ให้เด็กได้มีส่วนร่วม  และให้เด็กได้คิดจากประสบการณ์เดิม  สามารถนำไปแปรรูปได้  ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม

วันที่ 4  หน่วย  ส้ม

             -เริ่มสอนโดยการใช้เพลงตบมือ  เปาะแปะ  เรียกแพะเข้ามา  แพะไม่มา  ปิดประตูรูดซิป  พร้อมทำท่าทางประกอบเพลง ครูมีส้มให้เด็กดู  แล้วให้เด็กเล่นนิทานจากภาพ  ต่อมาครูถามเด็กถึงประโยชน์ของส้ม  ซึ่งมีดังนี้  ครูบอกและนำภาพมาให้เด็กดู  น้ำส้มคั้น  สบู่  สมุนไพร  เป็นต้น  ครูอาสาสมัครเด็กออกมาสาธิตการคั้นน้ำส้ม  ครูอธิบายอุปกรณ์วิธีการใช้และข้อควรระวัง  เมื่อเด็กคั้นน้ำส้มเสร็จแล้ว  ครูก็ให้เด็กชิมน้ำส้ม
คำแนะนำจากอาจารย์
            -  เมื่อเด็กตอบ  ครูควรบันทึกสิ่งที่เด็กตอบ  ประโยชน์ของส้ม  ควรแต่เป็นนิทานมากกว่

วันที่  5  หน่วยดอกมะลิ
                 -  เริ่มสอนโดยการใช้เพลงเด็กที่น่ารัก  แล้วถามเด็กๆว่า  เด็กๆรู้จักดอกมะลิชนิดอะไรบ้างคะ  ต่อมาครูก็บอกประโยชน์ของดอกมะลิ  ให้เด็กท่องคำคล้องจองของดอกมะลิ  ต่อมาครูก็อธิบายวัสดุอุปกรณ์ในการทำ  Cooking  แล้วครูก็บอกวิธีการทำ  Cooking  ดอกมะลิชุบแป้งทอด  โดยครูเป็นผู้ดูแลอย่างใก้ชิด
คำแนะนำของอาจารย์
               -  ประโยชน์มันกว้างมาก  อาจจะสอน  2  วันก็ได้  ครูต้องตั้งคำถาม  เช่น  ถ้าน้ำมันกำลังเดือด  ครูควรถามเด็กว่า  ถ้าครูหยอดแป้งลงไปในกระทะจะเกิดอะไรขึ้น  

วันที่  1  หน่วย  แปรงฟัน
**หมายเหตุ  :  ไม่ได้นำเสนอในวันนี้
วันที่  2  หน่วย  ผีเสื้อ
**หมายเหตุ  :  ไม่ได้นำเสนอในวันนี้
วันที่  3  หน่วย  ไก่
                   -  เริ่มโดยการถามเด็กๆว่า  ที่อยู่อาศัยของไก่มีที่ไหนบ้าง  เด็กก็จะตอบ  เล้า  สุ่ม  ทุ่งนา  อาหารของไก่มีอะไรบ้าง  เด็กตอบว่า  ข้าวเปลือก  ผัก  หนอน  ไส้เดือน  วิธีดูแลรักษาไก่มีแะไรบ้าง  เด็กตอบว่า  ฉีดวัคซีน  ในขณะที่เด็กตอบ  ครูก็จะจดบันทึกสิ่งที่เด็กตอบเป็นแผนผังความคิด  ต่อมาครูท่องคำคล้องจองให้เด็กฟัง  ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง  ต่อมาครูให้เด็กหาพื้นที่ให้กับตัวเอง  แล้วครูให้เด็กเต้นเพลง  Chicken  Dance  โดนครูเต้นให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน  แล้วเด็กกับครูเต้นพร้อมกัน  จบการสอน
คำแนะนำของอาจารย์
                 -  ควรมีภาพสื่อให้เด็กดูด้วย  ควรมีภาพประกอบคำคล้องจอง  ควรถามเด็ก  โดยใช้คำถามปลายเปิดในการถามเด็ก  ว่าในคำคล้องจองเด็กๆรู้จักอะไรบ้าง

วันที่  4  หน่วย  ปลา
             -  ครูอธิบายวัสดุอุปกรณ์  ในการทำปลาทูทอด  ครูให้เด็กออกมาทอดปลาทู  เมื่อทอดเสร็จให้เด็กแบ่งกันชิมปลาทูทอดกับข้าว
คำแนะนำจากอาจารย์
             -  การทำ  Cooking  ต้องขึ้นอยู่กับวิธีการ  ดูวิธีการว่ายากหรือง่าย


การนำไปประยุกต์ใช้

              - สามารถนำนำความรู้ ที่ได้เรียนในวันนี้ไปปรับปรุงในเรื่อง  การเขียนการจัดประสบการณ์  และเทคนิควิธีการสอน  ให้ถูกต้อง  เหมาะสมตามหลักการที่อาจารย์สอน
             - สามารถนำความรู้ไปเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
              - สามารถนำความรู้จากคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประวิชาชีพครู         

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน

         1.  ผู้สอนใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์เกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์
         2.  ผู้สอน  บรรยายอย่างเดียว  เพราะในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
         3.  ผู้สอนใช้การบรรยายจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากขึ้น
         4.  อาจารย์สอนโดยการบรรยายและการใช้สื่อมัลติมิเดีย  ประกอบการสอน  และเครื่องฉายภาพ

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
         1.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการบรรยาย
         2.  อาจารย์ใช้มัติมิเดียในการสอน
         3.  อาจารย์ใช้เครื่องฉายภาพ  ในการให้ความรู้เพิ่มเติม     

การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง

             
              วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน  เรียนสนุก  แต่กายถูกระเบียบ  เรียบร้อย  และตั้งใจออกมานำเสนอ  แผนการจัดประสบการณ์  หน่วย  กบ  หน้าชั้นเรียน

       ประเมินเพื่อน


               เพื่อนตั้งใจฟังการให้คำแนะนำของอาจารย์  ในการให้คำแนะนำของแต่ละกลุ่ม


       ประเมินอาจารย์

             
             อาจารย์สอนดีมาก  และแต่กายสุภาพเรียบร้อย  วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำกับนักศึกษาในการออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ของทุกๆกลุ่ม  เพื่อให้นักศึกษาได้ไปปรับใช้กับการเป็นครูหรือการฝึกสอนปี  5  ได้